CLASH

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกคน

เดชาตั้งใจเรียนนะน้องนะ
เขียนโดย totsaporn ที่ 19:08 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)
  • นายยุทธนา ถินคำเชิด
  • นายเดชา แสดงจิต

totsaporn

totsaporn

ประวัติกีฬาตร้อ

ประวัติกีฬาตร้อ

ประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อ

ประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อ


ไทย มาเลเซีย พม่า ต่างอ้างว่าเป็นกีฬาประจำชาติ ของตนมาแต่บรรพกาล แต่ไม่มีหลักฐานใดอ้างอิงได้ ชัดแจ้งว่า กีฬาตะกร้อกำเนิดมาจากชาติใดก่อน จากการเล่าขาน พออนุมาน ได้ว่า กีฬาตะกร้อน่าจะมีเมื่อยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งเมื่อคราวที่ไทยทำสงครามกับพม่า ในยามตั้งค่ายพักรบเหล่าทหารทั้งสองฝ่ายพักผ่อน ต่างก็หาการเล่นต่าง ๆ มาเล่นกันเพื่อความสนุกและผ่อนคลาย มีการเล่นที่หาอุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น ตะกร้อ มาเตะกัน ครั้งแรกก็ ใช้เศษผ้ามาม้วนและมัดเป็นลูกกลม ๆ ล้อมวงเตะกัน จากเศษผ้าแล้วแปรมาเป็นหวาย เพราะถิ่นแถบเอเชียมีธรรมชาติที่อุดมไปด้วยต้นหวาย คนสมัยโบราณได้นำเอาหวายมาใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จากภูมิปัญญาทำเป็นกระบุงตะกร้อ สำหรับบรรจุสิ่งของหรือจักเป็นตอกเพื่อใช้ผูกมัดสิ่งของเหมือนกับเชือกเพราะมีความคงทนดี สมัยโบราณต้นหวายยังถูกดัดแปลงจำลองเป็นอาวุธ ใช้ในการฝึกหัดต่อสู้แทนอาวุธจริง ก่อนจะกลายมาเป็นตะกร้อ ได้มีผู้เอาหวายมาจักตอกสานเป็นรูปกลม ๆ มีหลายขนาด เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่วัตถุประสงค์
เมื่อกาลสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีคนเล่นลูกหวายกลม ๆ ด้วยการใช้ทั้งมือและเท้า โยนรับกันไปมา เป็นการเล่นเพื่อการพักผ่อนคลายความเครียด และเป็นการออกกำลังกายทีให้ความสนุกในยามว่างเว้นจากการสงคราม อีกประการมีหลักฐานปรากฏว่า ทางราชการได้จักสานตะกร้อขนาดใหญ่ สำหรับใส่นักโทษที่ผิดกระบิลเมืองอย่างร้ายแรง โดยเอานักโทษใส่เข้าไปในตะกร้อแล้วให้ช้างเตะกลิ้งไปตามถนนจนรอบเมือง จึงมีการคิดค้นดัดแปลงลูกตะกร้อ ขนาดใหญ่ที่ใช้ช้างเตะ กลับกลายมาเป็นตะกร้อขนาดเล็กที่ให้คนเตะได้และมีการสืบสานต่อ ๆ กันมา จวบจนถึงยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีข้ออ้างอิงอย่างเด่นชัดว่ากีฬาตะกร้อ ได้ก่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน โดยหลักฐานจากพระราชนิพนธ์ ในบทละครนอกเรื่อง “สังข์ทอง” ของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนิพนธ์ข้อความตอนหนึ่งในบทที่เจ้าเงาะยั่วยวนท้าวสามลพ่อตาว่า

“ เห็นพ่อตาหน้าบึ้งขึ้งโกรธ ทำขอโทษนั่งลุกคุกเข่า ก้มกราบคลานหมอบพินอบพิเทา กราบแล้วกราบเล่าเฝ้าหลอกล้อ ฉวยได้ฝาชีที่ขันน้ำ แล้งทำปะเตะเล่นเช่นตะกร้อ... ฯลฯ ”


จึงเชื่อได้ว่ากีฬาตะกร้อมีมานานแล้วในประเทศไทย มิใช่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

ลูกตะกร้อของทุกชาติแต่เดิมก็สานด้วยหวายเหมือนกัน แต่มีรูปลักษณ์แตกต่างกัน

ของไทย

ของมาเลเซีย

ของพม่า


เมื่อเห็นรูปลักษณ์ของตะกร้อทั้งสามชาติแล้ว ก็ลองวิเคราะห์ดูว่าไทย หรือ มาเลเซีย หรือ พม่า เป็นต้นตำรับของกีฬาตะกร้อ
ในอดีตที่มีการเข้าใจว่า พม่าเป็นต้นตำรับ อาจเป็นเพราะว่า เมื่อ 70 กว่าปี มาแล้ว หรือเมื่อประมาณ พ.ศ. 2472 มีชาวพม่าชื่อ “หม่อง ปาหยิน” มาอยู่ในประเทศไทยจนกระทั่งเสียชีวิต ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น “หม่อง ปาหยิน” ได้ออกแสดงการติดตะกร้อตามร่างกาย ซึ่งติดได้ 5 ลูก คนไทยเห็นว่า “หม่อง ปาหยิน” เป็นคนเก่งเพราะไม่เคยเห็นผู้ใดทำได้ จึงพากันเข้าใจว่าพม่าคงจะเป็นต้นตำรับของกีฬาตะกร้อ ทรรศนะผู้เขียน เห็นว่าไม่น่าจะใช่ หากกีฬาตะกร้อพม่าเป็นต้นตำรับจริง ก็น่าจะเรียกกีฬาตะกร้อว่า “ชินลง” เพราะตามภาษาของพม่า เขาเรียกตะกร้อว่า “ชินลง” มาเลเซีย ก็อ้างว่าตะกร้อเป็นกีฬาประจำชาติของตน แต่เดิมวิธีการเล่นของแต่ละชาติไม่เหมือนกัน
พม่า เตะกันแบบล้อมเป็นวง 5-6 คน ส่วนมากจะใช้ฝ่าเท้าโต้ไปหาคู่และมักจะไม่สวมใส่รองเท้า มาเลเซีย เล่นตะกร้อข้ามตาข่ายซึ่งได้ดัดแปลงการเล่นมาจากกีฬาวอลเล่ย์บอล โดยกำหนดให้สนามเล็กลงและให้มีผู้เล่นน้อยลง เรียกว่า เซปัก โบลา ราฆา จาริง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า เตะตะกร้อข้ามตาข่าย ผู้เขียนมั่นใจและมีความเชื่ออย่างยิ่งว่า ตะกร้อเป็นกีฬาประจำชาติไทยอย่างแน่นอน
ตะกร้อมีการเล่นมาเป็นเวลานานและเล่นกันมากมายหลายประเภท ดังลำดับต่อไปนี้
1. เตะทนบนโต๊ะ ผู้เล่นต้องยืนบนโต๊ะห่างกัน ประมาณ 32 เมตร โต้กันไปมาโดยไม่ให้ตะกร้อและผู้เล่นตกพื้น เตะกันด้วยท่าอะไรก็ได้ถ้าคู่ใดเตะได้มากกว่าตามเวลาที่กำหนดโดยตะกร้อตกน้อยครั้งและผู้เล่นไม่ตกจากโต๊ะถือว่าเป็นผู้ชนะ เตะทนบนโต๊ะ มีการแข่งขันกันเมื่อปี พ.ศ.2476 โดยนายยิ้ม ศรีหงษ์ นายกสมาคมกีฬาไทยฯ เป็นผู้จัดปัจจุบันไม่มีการแข่งขัน
2. เตะวิ่งชิงธง ผู้เล่นต้องเคาะหรือเลี้ยงตะกร้อด้วยท่าใดก็ได้ ไปตามลู่ที่จัดไว้ตามระยะทางที่กรรมการกำหนด ส่วนเส้นชัยนั้นจะมีธงปักอยู่ หากผู้ใดสามารถเลี้ยงตะกร้อไปตามลู่โดยไม่ตกและหยิบธงได้ก่อน ถือว่าเป็นผู้ชนะ ปัจจุบันไม่มีการแข่งขัน
3. เตะทน สามารถเล่นได้ทุกท่า เช่น ข้างเท้า หลังเท้า เข่า ศีรษะ ศอกหลัง ลูกไขว้ ฯลฯ กรรมการจะนับทุกลูกของการเตะ ปัจจุบันไม่มีการแข่งขัน
4. พลิกแพลง ให้คะแนนตามความยากง่ายของท่า เช่น ท่าด้านหนาให้หนึ่งคะแนน,ท่าด้านข้างให้สองคะแนน และท่าด้านหลังให้สามคะแนน ซึ่งตะกร้อพลิกแพลงมีมากกว่า 30 ท่า ปัจจุบันไม่มีการแข่งขัน
5. เตะทนวงเล็ก – วงใหญ่ กรรมการจะนับคะแนนเฉพาะท่าข้างเท้าด้านใน (แป) เท่าน้ำ ท่าอื่น ๆ สามารถเล่นได้แต่จะไม่ได้คะแนน ทีมหนึ่งมีผู้เล่นหกคน (3 คู่) คู่หนึ่งเตะได้ไม่เกิน หลังเท้า เข่า ศีรษะ ศอกหลัง ลูกไขว้ ฯลฯ กรรมการจะนับทุกลูกของการเตะ ปัจจุบันไม่มีการแข่งขัน
6. ข้ามตาข่ายแบบไทยดั้งเดิม วิธีการเล่นและรูปแบบของสนามคล้ายคลึงกันมากกับกีฬาแบดมินตัน โดยมีการเล่น 3 ประเภท คือ เดี่ยว,คู่ และทีมสามคน ผู้เล่นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวมาก แต่ละครั้งที่เล่นลูกช่วยกันไม่ได้ ผู้ใดถูกลูกต้องเล่นให้ข้ามด้วยตัวเอง ผู้อื่นช่วยไม่ได้แม้ว่าจะเล่นประเภทคู่หรือทีมสามคน
7. ลอดห่วง มีการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2476 เดิมความสูงของห่วง 7 เมตร (ปัจจุบัน 5.75 เมตร) ห่วงชัยเป็นห่วงราวสามห่วงเรียงลงมา ผู้เล่นสามารถเล่นท่าใดท่าหนึ่ง ในท่าเดียวที่ตนถนัดหรือแม่นที่สุดก็ได้ เช่น บางทีถนัดท่าไหล่ ก็อาจเล่นเฉพาะท่าไหล่อย่างเดียวทั้งทีมและเข้ากี่ครั้งก็ได้
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงใหม่โดยมีการจำกัดท่าเล่น คือ ในท่าหนึ่ง ๆ สามารถให้เล่นเข้าห่วงชัยได้เพียงท่าละ 2 ครั้ง เท่านั้น ถ้ามีการเล่นท่าเดิมเข้าห่วงชัยอีก หรือเกิน 2 ครั้ง ไม่ได้คะแนน
การกำหนดหรือจำกัดท่าให้เล่นดังกล่าว เป็นผลให้ผู้เล่นพัฒนาความสามารถหรือคิดค้นท่าการเล่นให้มากขึ้น ตะกร้อลอดห่วง นิยมเล่นกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะงานวัดในกรุงเทพฯ มีการแข่งขันเป็นประจำทุกปี การเล่นตะกร้อทั่วไป เมื่อดูจากภาพรวมแล้วนำมาเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า คนไทยมีลีลาและความสามารถสูงกว่าทุกชาติ ข้อนี้พิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้ง จาก ตะกร้อลอดห่วง อันมีลีลาที่อ่อนช้อย – สวยงาม มีท่าเล่นหลากหลายไม่มีชาติใดเล่นได้ แม้แต่มาเลเชีย – พม่า ก็ไม่สามารถเล่นได้เฉกเช่นคนไทย ทั้งที่ ๆ ที่ไทยไปสาธิตให้ดูหลายครั้งแล้ว
ตะกร้อวง ที่มีการแข่งขันกันใน เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 6 -20 ธันวาคม 2541 ณ.กรุงเทพฯ เป็นการพิสูจน์ความสามารถด้านพื้นฐานของกีฬาตะกร้ออย่างแท้จริง มีการแข่งขันทั้งชายและหญิง ตะกร้อวงชาย ทีมไทยเหนือคู่แข่งขันทุกชาติ เทียบกันไม่ได้เพราะห่างชั้นกันมาก ทุกชาติที่เข้าแข่งขัน อย่านำไปเทียบฟอร์มกับทีมชายไทยเลยเพียงเทียบหรือวัดความสามารถกับตะกร้อวงหญิงของไทยทีมชายต่างชาติก็สู้ไม่ได้แล้ว นี่คือ...เรื่องจริง กีฬาตะกร้อเมื่ออดีตมีการเล่นการแข่งขันกันเฉพาะภายในประเทศของตนไม่มีการแข่งขันระหว่างประเทศเพราะต่างก็เล่นในกติกาหรือวิธีการเล่นของแต่ละประเทศ กติกาการเล่นต่างกันดังที่กล่าวมาแล้ว

ปฐมเหตุแห่งการบรรจุเข้าสู่กีฬาระดับชาติ

ระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน 2508 สมาคมกีฬาไทยฯ ได้จัดงานเทศกาลกีฬาไทย โดยมีการแข่งขันว่าว,กระบี่กระบอง และตะกร้อ ณ.ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ซึ่งในปีนั้น สมาคมกีฬาตะกร้อ จากปีนังประเทศมาเลเซีย ได้นำวิธีการเล่นตะกร้อของมาเลเซีย คือ เซปัก โบลา จาริง มาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักในเชิงเชื่อสัมพันธ์ไมตรี และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกติกาของไทยด้วย
สมาคมกีฬาไทย ฯ ได้จัดให้มีการแข่งขันสาธิตตะกร้อของทั้งสองประเทศ ระหว่างไทยกับมาเลเซียขึ้น โดยผลัดกันเล่นตามกติกาของมาเลเซีย 1 วัน , เล่นแบบกติกาของไทย 1 วัน กติกาของไทยสมัยก่อน เรียกว่า ตะกร้อข้ามตาข่าย มีฝ่ายละ 3 คน เรียกว่า มือหนึ่ง – มือสอง- มือสาม สนามแข่งขันกันอยู่ในปัจจุบัน โดยคะแนนจบเกมที่ 15 แต้ม และเปลี่ยนแปลงมาเป็น 21 แต้ม ในปัจจุบัน
การสาธิตระหว่างไทย กับ มาเลเซีย
วันแรก เล่นกติกาของไทย ปรากฏว่า ไทย ชนะด้วยคะแนน 21 ต่อ 0
นักกีฬาตะกร้อไทย ประกอบด้วย
1. จ.ส.ต. เจริญ ศรีจามร (เสียชีวิตแล้ว)
2. ร.อ. จำเนียร แสงสม (เสียชีวิตแล้ว)
3. นายชาญ ธรรมวงษ์ (เสียชีวิตแล้ว)
วันที่สอง เล่นกติกาของมาเลเซีย ปรากฏว่า มาเลเซีย ชนะด้วยคะแนน 15 ต่อ 1
นักกีฬาตะกร้อไทย ประกอบด้วย
1. ส.อ. สวัลย์ วงศ์พิพัฒน์ (เสียชีวิตแล้ว)
2. นายประเสริฐ นิ่มงามศรี (เสียชีวิตแล้ว)
3. นายสำเริง หวังวิชา (ยังมีชีวิต)
เมื่อผลการสาธิตหรือทดสอบออกมารูปนี้ แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายก็ถนัดหรือมีความสามารถในกติกาของตน จึงได้มีการพิจารณาร่วมกันกำหนดกติกาการเล่นตะกร้อขึ้นใหม่ เพื่อจะได้บรรจุเข้าเข่งขันในกีฬาเซียพเกมส์ต่อไป
ข้อตกลงมีว่าวิธีการเล่นและรูปแบบของสนามแข่งขัน ให้ถือเอารูปแบบของมาเลเซีย ส่วนอุปกรณ์การแข่งขัน (ลูกตะกร้อ – เน็ต) และขนาดความสูงของเน็ต ให้ถือเอารูปแบบของไทย และได้ตั้งชื่อกีฬานี้ว่า “ เซปัก ตะกร้อ “ เป็นภาษาของ 2 ชาติรวมกัน กล่าวคือ คำว่า “เซปัก” เป็นภาษามาเลเซีย แปลว่า “เตะ” คำว่าตะกร้อเป็นภาษาไทย
กีฬาเซปักตะกร้อ ได้บรรจุเข้าแข่งขันในเซียพเกมส์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2508 ปรากฏว่าทีมไทย แพ้มาเลเซีย อย่างราบคาบ (แพ้ทั้ง 3 ทีม)
จากหวายกลายมาเป็นใยสังเคราะห์ (พลาสติก) การแข่งขันเซปักตะกร้อ มักจะมีปัญหากับลูกตะกร้อที่ใช้แข่งขันเสมอ เนื่องจากตะกร้อที่เป็นหวายมีขนาดและน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ เพราะวิธีการ ทำลูกตะกร้อที่จักสานด้วยมือไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ ช่วยเสริม และหวายที่นำมาจักสานนั้นก็มิได้กำหนดตายตัวว่าต้องใช้หวายชนิดใด บางรายก็ใช้หวายกาหลง บางรายก็ใช้หวายตะคร้า คุณลักษณะย่อมแตกต่างกัน
อันการจักสานด้วยมือนั่น รัศมีความกลม, ขนาดเส้นรอบวงตลอดทั้งน้ำหนักย่อมไม่คงมาตรฐานได้ดีพอ ประกอบกับ หวายก็ขาดแคลน ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษี เป็นเหตุให้ราคาตะกร้อที่ทำจากหวายมีราคาสูง และไม่สามารถสนองต่อจำนวนปริมาณความจำเป็นของวงการได้ และยังเป็นอุปสรรคต่อการฝึกซ้อมของนักกีฬาท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งบางครั้งไม่สามรถจัดซื้อ – จัดหาลูกตะกร้อหวายที่มีคุณภาพ, มาตราฐานได้ตามความต้องการ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการนำใยสังเคราะห์หรือพลาสติก มาผลิตเป็นลูกตะกร้อด้วยเทคโนโลยี อันทันสมัย เป็นการชดเชยวัตถุดิบทางธรรมชาติ ที่ขาดแคลนและเป็นการแก้ปัญหาให้แก่วงกีฬาตะกร้อด้วย


การเดินทาง ธีม. รูปภาพธีมโดย simonox. ขับเคลื่อนโดย Blogger.